การท่าเรือแห่งประเทศไทย | Port Authority of Thailand

การส่งเสริมให้มีการเปิดตู้สินค้าขาเข้า

การส่งเสริมให้มีการเปิดตู้สินค้าขาเข้า

การส่งเสริมให้มีการเปิดตู้สินค้าขาเข้า (LCL/CFS, LCL/Direct) ในเขต ทกท. เพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันการให้บริการเปิดตู้สินค้าในเขต ทกท. แบ่งเป็น 2 แบบ คือ การเปิดตู้สินค้าเพื่อนำสินค้าออกจากตู้ขนส่งขึ้นรถบรรทุก (LCL/Direct) และการเปิดตู้สินค้าเพื่อนำสินค้าออกจากตู้เข้าฝากเก็บใน รส. (LCL/CFS)

อัตราการเปิดตู้สินค้าในเขต ทกท. เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2547 มีการเพิ่มขึ้นสูงมากถึง 18% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้มีการนำเข้าเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับท่าเรือกรุงเทพมีการเปิด รส. ให้บริการรับตู้สินค้า LCL เพิ่มขึ้นอีก ผลทำให้มีพื้นที่ในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น สำหรับปริมาณตู้ประเภท LCL/Direct และ LCL/CFS คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65 : 35 การส่งเสริมให้มีการเปิดตู้ในเขต ทกท. เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ท่าเรือกรุงเทพมีรายได้ต่อทีอียู. เพิ่มมากขึ้นและยังช่วยให้การใช้ประโยชน์ของโรงพักสินค้าเต็มศักยภาพมากขึ้นอีกด้วย 

พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 

ท่าเรือกรุงเทพมีโรงพักสินค้าเพื่อรองรับการให้บริการการเปิดตู้สินค้า LCL ขาเข้า จำนวน 8 รส. คือ คือ รส. 7,8,9,11,13,16, และ รส. 17 (สำหรับ รส. 7,8 เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547) และยังมีพื้นที่ รส. 3 และ 6 ให้บริการส่วนหนึ่งด้วย

อัตราค่าบริการ 

อัตราค่าบริการเฉลี่ยต่อทีอียู. ดังนี้

ตู้ LCL/Direct    ประมาณ 3, 960 บาท / ทีอียู 
ตู้ LCL/CFS       ประมาณ 3, 390 บาท / ทีอียู
ระยะเวลายกเว้นค่าฝากเก็บ (Free Rent ) 3 วัน

ประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ 

1. เจ้าของสินค้าที่บรรจุมากับตู้ LCL ขาเข้า ซึ้งมีหลายเจ้าของที่ประสงค์จะนำสินค้าออกนอกเขตท่าเรือกรุงเทพ ไม่พร้อมกันสามารถเปิดตู้และนำเข้าฝากเก็บในโรงพักสินค้าได้เป็นการชั่วคราว และนำออกได้ในเวลาที่ต้องการ

2. เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของสินค้ารายย่อยหรือกลุ่มผู้นำเข้าที่เป็น SMEs

3. เจ้าของสินค้าที่มีโรงงานอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สะดวกที่จะนำรถเทรลเลอร์บรรทุกตู้สินค้าเข้าไป สามารถขอเปิดตู้นำสินค้าในเขตท่าเรือกรุงเทพและใช้รถบรรทุกเล็ก ขนถ่ายสินค้าส่งไปยังโรงงานได้โดยสะดวก

Loading

Skip to content