Decarbonization
- บทนำ
บริบทพื้นฐาน:
“ในยุคที่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นความสำคัญระดับโลก ดังเช่นที่สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เพื่อประกาศจุดยืนในการลดปริมาณคาร์บอน การเข้าใจและจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นสำหรับบริษัทเดินเรือ CBAM มีเป้าหมายที่จะตั้งราคาให้กับการปล่อยคาร์บอนในสินค้านำเข้า อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป อุตสาหกรรมการเดินเรือถือว่ามีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการค้าระหว่างประเทศ บริษัทเดินเรืออยู่ในตำแหน่งที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยการนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ เช่น การตรวจสอบปริมาณการปล่อยคาร์บอนอย่างครบถ้วน การลดการใช้พลังงาน/น้ำมัน อุตสาหกรรมการเดินเรือสามารถยกระดับความสามารถในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญ”
ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย:
“สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านการเดินเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเน้นแนวทางการเดินเรือที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมระดับชาติและพันธกรณีระหว่างประเทศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นประตูสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ขอเป็นพันธมิตรในการสนับสนุนและริเริ่มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมเดินเรือ”

ความสำคัญของการตรวจสอบปริมาณการปล่อยคาร์บอน:
การตรวจสอบปริมาณการปล่อยคาร์บอนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องการปฏิบัติตามข้อกำหนดเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต โดยการเข้าใจและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการขนส่งทางบกและเรือที่เกิดขึ้น
บริษัทเดินเรือสามารถจัดการกับข้อกำหนดทางกฎหมายได้ล่วงหน้า ปรับปรุงการใช้เชื้อเพลิง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้พลังงานทางเลือก สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนในระยะยาว สอดคล้องกับพันธกิจของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่จะมีการสนับสนุนและช่วยเหลือในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้มั่นใจว่าอุตสาหกรรมการเดินเรือของประเทศไทยจะยังคงมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค และจูงใจให้อนารยประเทศสนใจสินค้าจากประเทศไทย
นอกจากนี้กระบวนการตรวจสอบนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับโปรไฟล์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ เพื่อช่วยให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การลดการปล่อยได้อย่างมีเป้าหมาย
ภาพรวมบริการ: e-Carbon Receipt:
ด้วยการประเมินปริมาณการปล่อยคาร์บอน ณ ท่าเรือประเทศไทย บริษัทเดินเรือสามารถมั่นใจว่าเป็นไปตามข้อบังคับที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น CBAM สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ระยะเวลาที่ใช้ในท่าเรือปลายทาง แต่ยังเสริมสร้างตำแหน่งในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนอีกด้วย
บริการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการขนส่งราย shipment โดยใช้วิธีการแบบบูรณาการในการประเมิน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม มีความโปร่งใสและแม่นยำ ตามมาตรฐานของ GLEC (Global Logistic Emission Council) และ ISO 27001 ด้วยเทคโนโลยี AI และ Blockchain
ปริมาณคาร์บอนจะถูกประเมินตามที่เกิดจริงและมี Verifier ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระดับโลก (ISO14065) ให้การรับรองทำให้ไม่ต้องประเมินคาร์บอนด้วยปริมาณสูงสุด ณ ท่าเรือปลายทาง ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของภาคการเดินเรือ ง่ายไม่ต้องมีเอกสารเพิ่ม ครอบคลุมทั้งการขนส่งทางบกและทางเรือ
ประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมการเดินเรือ:
ด้วยการเข้าร่วมในการตรวจสอบปริมาณการปล่อยคาร์บอน บริษัทเดินเรือสามารถเข้าถึงประโยชน์หลายประการ
ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน: ปรับขั้นตอนให้คล่องตัวและลดการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่าย
การปฏิบัติตามข้อกำหนด: ก้าวไปข้างหน้าในด้านข้อบังคับสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่มุ่งมั่นต่อความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ดึงดูดลูกค้าและหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์เดียวกันสร้างโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ
การจัดการความเสี่ยง: ลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเตรียมความพร้อมรับมือกับการออกข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นในอนาคต
