เพิ่มเพื่อน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ

 
วิสัยทัศน์

To be World Class Port with Excellent Logistics Services for Sustainable Growth in 2030

“มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก พร้อมการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573”
 
ตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของท่าเรือภายใต้ความรับผิดชอบของการท่าเรือฯ
  • ท่าเรือกรุงเทพ :
    “เป็นท่าเรือแม่น้ำที่ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมการค้า การลงทุน และสนับสนุนธุรกิจ SMEs”
  • ท่าเรือแหลมฉบัง :
    “เป็นท่าเรือชั้นนำระดับโลก เชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติกส์สู่การค้าโลกแบบไร้รอยต่อ”
  • ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน/ท่าเรือเชียงของ :
    “เป็นท่าเรือที่สนับสนุนการเชื่อมโยงการค้าและการขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”
  • ท่าเรือระนอง :
    “เป็นท่าเรือที่สนับสนุนการเชื่อมโยงการค้าและการขนส่งทางฝั่งทะเลอันดามัน”
 
ค่านิยม
"S M A R T"
  • S = STANDARD             ดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาลและมาตรฐานสากล
  • M = MASTERY              ทำงานอย่างมืออาชีพเทียบเท่าองค์กรสมรรถนะสูง
  • A = AGILITY                  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ 
  • R = RESPONSIBILITY   รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • T = TEAMWORK            มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน
 
 
พันธกิจ
  1. พัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อสนับสนุนและเป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  2. พัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง (Intermodal Transport) ที่เชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์ทั้งภายในประเทศและในภูมิภาค
  3. พัฒนาการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ในเชิงธุรกิจ เพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้รับผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและสนับสนุนการเติบโตขององค์กร
  4. พัฒนาสู่องค์กรสมรรถะสูง เพื่อสนับสนุนการบริการและการดำเนินงานที่เป็นเลิศ
  5. สร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินกิจการท่าเรือและบทบาทความสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตและความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
  1. ยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล
  2. ยกระดับขีดความสามารถการให้บริการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเเละนวัตกรรม
  3. สร้างโอกาสเชิงกลยุทธ์ด้วยการบริหารจัดการสินทรัพย์เเละการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน
 
ยุทธศาสตร์
     ยุทธศาสตร์ที่ 1.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/ระบบการบริหารจัดการท่าเรือให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล
     ยุทธศาสตร์ที่ 2.1 การให้บริการที่มุ่งเน้นลูกค้าและผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
     ยุทธศาสตร์ที่ 2.2 รักษา/ขยายพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันขององค์กร
     ยุทธศาสตร์ที่ 2.3 พัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์
     ยุทธศาสตร์ที่ 2.4 ปรับกระบวนการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
     ยุทธศาสตร์ที่ 3.1 การแสวงหาโอกาสในการใช้สินทรัพย์และการลงทุนธุรกิจเชิงพาณิชย์
     ยุทธศาสตร์ที่ 4.1 การทบทวนและ ปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้สอดรับกับบริบทการดำเนินงานและการแข่งขัน
     ยุทธศาสตร์ที่ 4.2 สร้างโครงสร้างองค์กรและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
     ยุทธศาสตร์ที่ 4.3 การพัฒนาการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
 
กลยุทธ์การท่าเรือฯ ปีงบประมาณ 2566-2570 (ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ 2566)
     การท่าเรือฯ ได้กำหนดกลยุทธ์และระบุกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมายขององค์กร และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ 2566-2570 ดังนี้   
กลยุทธ์ 1.1.1 พัฒนาขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือเพื่อรองรับการให้บริการและการขยายตัวทางการค้าของประเทศ
กลยุทธ์ 1.1.2 บริหารจัดการท่าเรืออยู่ในระดับมาตรฐานท่าเรือสากล
กลยุทธ์ 1.1.3 พัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ 2.1.1 ยกระดับคุณภาพ การให้บริการด้วยมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
กลยุทธ์ 2.1.2 ออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้าและผู้ใช้บริการ
กลยุทธ์ 2.2.1 รักษาความร่วมมือทางธุรกิจกับลูกค้า ผู้ใช้บริการ และพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ 2.2.2 พัฒนารูปแบบการดำเนินการด้านการตลาด รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน
กลยุทธ์ 2.3.1 พัฒนา/ส่งเสริมกิจกรรมการขนส่งสินค้า และระบบโลจิสติกส์
กลยุทธ์ 2.4.1 ขับเคลื่อนการใช้ดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการ
กลยุทธ์ 3.1.1 บริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
กลยุทธ์ 3.1.2 พัฒนารูปแบบการ บริหารการเงินและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ 4.1.1 ทบทวน และปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อขยายขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงธุรกิจ
กลยุทธ์ 4.2.1 บริหารและพัฒนาทุนมนุษย์ เชิงกลยุทธ์  (HRM, HRD)
กลยุทธ์ 4.2.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้องค์กร (KM)
กลยุทธ์ 4.3.1 ดำเนินการตามกรอบแนวทางการพัฒนาความยั่งยืน