Good Governance
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
กทท. มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลที่ดี ที่ประกอบไปด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดี การมีคณะกรรมการและผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีกลไกการควบคุมและการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่ม มูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาวซึ่งคณะกรรมการ กทท.เห็นควรให้กำหนดหลักการกำกับดูแลองค์กรที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กทท. มีดังนี้
กทท. มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลที่ดี ที่ประกอบไปด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดี การมีคณะกรรมการและผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีกลไกการควบคุมและการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่ม มูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาวซึ่งคณะกรรมการ กทท.เห็นควรให้กำหนดหลักการกำกับดูแลองค์กรที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กทท. มีดังนี้
- ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเองและสามารถชี้แจง/อธิบายการตัดสินใจนั้นได้ หรือ Accountability
- ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ และประสิทธิภาพเพียงพอ หรือ Responsibility
- การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียเท่าเทียมกัน เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีคำอธิบายได้หรือ Equitable Treatment
- ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หรือ Transparency
- การมีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการในระยะยาว หรือ Vision to Create Long Term value
- การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ หรือ Ethics
- เพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการ ที่ดี โปร่งใสและมีมาตรฐานที่ชัดเจนเป็นสากลซึ่งจะช่วยให้ กทท. มีศักยภาพในการแข่งขันป้องกันและขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกประเทศ และมีส่วนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
- สร้างกรอบความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กทท. และผู้บริหารต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อให้ใช้อำนาจภายในขอบเขตที่กำหนด
- ทั้งนี้คณะกรรมการกำกับดูแล กทท.จะต้องมีการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ ตลอดจนจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ สำหรับการบริหารภายในองค์กรตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่ได้มาตรฐานและเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กทท.
คณะกรรมการ กทท. มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้ กทท.เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจท่าเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับกิจการท่าเรือโดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร และมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมและตรวจสอบได้ เพื่อให้คณะกรรมการกทท.ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. คณะกรรมการ กทท. ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมุ่งมั่นที่จะนำหลักสำคัญใน การกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้ง 6 ประการได้แก่ Accountability, Responsibility, Equitable Treatment, Transparency, Vision to Create Long Term value and Ethics มาใช้ในการบริหารงาน ภายในองค์กรอย่างเป็นธรรม
คณะกรรมการ กทท. มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้ กทท.เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจท่าเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับกิจการท่าเรือโดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร และมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมและตรวจสอบได้ เพื่อให้คณะกรรมการกทท.ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. คณะกรรมการ กทท. ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมุ่งมั่นที่จะนำหลักสำคัญใน การกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้ง 6 ประการได้แก่ Accountability, Responsibility, Equitable Treatment, Transparency, Vision to Create Long Term value and Ethics มาใช้ในการบริหารงาน ภายในองค์กรอย่างเป็นธรรม
2. มีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการ กทท. คณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่อง และฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน ดังนี้
- 2.1 บทบาทของคณะกรรมการ กทท.
- 2.1.1 ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
คณะกรรมการ กทท. มีความมุ่งมั่นที่จะให้ กทท. เป็นองค์กรชั้นนำที่ได้รับการยอมรับ ในระดับสากล โดยดำเนินธุรกิจท่าเรือและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับกิจการท่าเรือที่มีความหลาก หลาย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง และด้วยบุคลากรที่มีความสามารถและมีส่วนร่วมใน วิสัยทัศน์ภารกิจและกลยุทธ์
2.1.2 ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ กทท.
คณะกรรมการ กทท. มีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และรับผิดชอบตามหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารงานของฝ่ายบริหารและคณะ กรรมการอื่น ๆ เพื่อการกำกับดูแลพิจารณาในการเพิ่มมูลค่าแก่องค์กร
2.1.3 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กทท.
- ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับขององค์กร ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และจะต้องระวังรักษาประโยชน์ขององค์กร
- กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรและกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตาม นโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดแก่องค์กร
- ให้ความเห็นชอบแผนต่าง ๆ และนโยบายที่สำคัญขององค์กร
- พิจารณาอนุมัติรายการที่สำคัญ เช่น โครงการ/งาน/ธุรกิจใหม่ การซื้อ/ขายทรัพย์สิน การดำเนินการใดๆ ที่กฎหมายกำหนด การซื้อ/การจ้าง ตามอำนาจและวงเงินที่กำหนดให้มีอำนาจอนุมัติตามระเบียบพัสดุ กทท.
- จัดให้มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงิน และการตรวจสอบบัญชีที่เชื่อถือได้ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการในการประเมินติดตามผลของการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน การบริหารจัดการความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ดูแลไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
- มีอำนาจว่าจ้างที่ปรึกษา หรือบุคคลภายนอกตามระเบียบของกทท.มาให้ความเห็นหรือคำปรึกษาในกรณีจำเป็น
- รับผิดชอบต่อผลประกอบการ และการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารโดยให้มีความตั้งใจ และความระมัดระวังการปฏิบัติงาน
- กำกับดูแลกิจการโดยมีการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม - 2.2 บทบาทของคณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่อง
- 2.2.1 ให้มีคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง เพื่อทำหน้าที่ช่วยศึกษา และกลั่นกรองเรื่อง เพื่อพิจารณาของคณะกรรมการ กทท.
2.2.2 ให้มีคณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่อง ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- สอบทานให้องค์กรมีรายงานทางการเงินถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และมีการเปิดเผยอย่างเพียงพอ
- พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร ในกรณีที่เกิดรายการที่ เกี่ยวโยงหรือ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- สอบทาน และให้ความเห็นต่อแผนตรวจสอบภายในการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบภายใน
- รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการ กทท.ทราบอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ กทท. มอบหมาย
2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- พิจารณาและอนุมัตินโยบายกรอบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
- พิจารณาและอนุมัติแผนบริหารความเสี่ยง
- กำกับและติดตามการบริหารความเสี่ยง และควบคุมภายในให้เป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
- เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือให้ข้อมูล และขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
- รายงานผลการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในให้คณะกรรมการ กทท. ทราบ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
3) คณะกรรมการกำกับดูแล กทท. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- กำกับดูแลการบริหารงานของ กทท. ให้เป็นไปตามหลักการ บริหารจัดการองค์กรที่ดี (Good Governance) และนโยบายของคณะกรรมการ กทท.
- กำหนดทิศทาง และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรที่ดี (Good Governance)
- ติดตามและรายงานผลการดำเนินการเสนอคณะกรรมการ กทท. เป็นระยะ
- ตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ กทท. มอบหมาย
4) คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทท. ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์
- หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งใน กทท.
- พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้างและ กทท.
- ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยปรึกษาหารือเพื่อพิจารณา ปรับปรุงสภาพการจ้างงาน
5) คณะกรรมการกำกับดูแลงานด้านโลจิสติกส์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- กำกับดูแล และติดตามความคืบหน้าของแผนงานและโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของการท่า เรือฯให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ตลอดจนกลยุทธ์ในการควบคุมประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน ตาม นโยบายของคณะกรรมการ กทท.
- เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล คำปรึกษา หรือขอเอกสารที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานของ กทท. ได้ตามความจำเป็น
- ติดตามและรายงานผลการดำเนินการเสนอคณะกรรมการ กทท. เป็นระยะ
- ตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการ กทท. มอบหมาย - 2.3 บทบาทของฝ่ายบริหาร
- - กำหนดนโยบาย และกลยุทธ์การดำเนินกิจการท่าเรือและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ กิจการท่าเรือให้สอดคล้องและสนับสนุนต่อภาวะเศรษฐกิจ และการแข่งขันเสนอให้คณะกรรมการ กทท. เห็นชอบ
- กำหนดแผนวิสาหกิจ แผนการเงิน แผนงบประมาณ แผนบริหารสินทรัพย์ขององค์กร และแผนอื่น ๆ เสนอให้คณะกรรมการ กทท. เห็นชอบ - ตรวจสอบติดตามการดำเนินนโยบาย และแนวทางการบริหารงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเอื้อต่อสภาพการดำเนินธุรกิจ
- ตรวจสอบติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปตามแผนที่ได้รับอนุมัติไว้
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ กทท. มอบหมาย
- 3. คณะกรรมการ กทท. ต้องมีการประเมินผลตนเองรายปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กทท.
4. การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส กทท. มีนโยบายเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญต่อสาธารณชน ดังนี้
- 4.1 โครงสร้างองค์กร วิสัยทัศน์ ผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และนโยบายที่สำคัญ
4.2 รายชื่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ และค่าตอบแทน
4.3 จำนวนครั้งที่กรรมการ และ/หรืออนุกรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุมโดยเปรียบเทียบจำนวนครั้งของ การประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ คณะอนุกรรมการในแต่ละปี
4.4 ปัจจัยและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงที่สามารถมองเห็นได้ทั้งที่เกี่ยวกับ การดำเนินงานและการเงิน
4.5 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน และแสดงควบคู่กับรายงานผู้สอบบัญชี
4.6 รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
4.7 เปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้มีการรายงานเปิดเผยข้อมูลไว้ในรายงานประจำปี และผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Website เป็นต้น
6. จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- 6.1 จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการกทท.มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจ และมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ โดยมีการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
6.2 จรรยาบรรณว่าด้วยการรายงานการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่ต้องรายงานการปฏิบัติที่อาจขัดต่อจรรยาบรรณ ในกรณีที่พบเห็นหรือถูกกดดัน / บังคับให้กระทำการใดๆ ที่เป็นการขัดต่อจรรยาบรรณ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับสูง หรือฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล หรือคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะกรรมการตรวจสอบแล้วแต่กรณี
กทท. มีนโยบายที่จะ รักษาข้อมูลของผู้ที่รายงานเป็นความลับ และคุ้มครองผู้ที่รายงานเป็นอย่างดี และผู้รายงานไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ หากเป็นการกระทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร
กทท. มีความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ และยึดมั่นปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
6.4 จรรยาบรรณว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า
- กทท. มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรีและเป็นธรรม
- กทท. ไม่มีนโยบายในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างผิดกฎหมาย และขัดต่อจริยธรรม
6.5 จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- กทท. มีนโยบายในการให้บริการใด ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
- กทท. ส่งเสริมกิจกรรมดูแลรักษาธรรมชาติ และอนุรักษ์พลังงาน และมีนโยบายที่จะคัดเลือกและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.6 จรรยาบรรณว่าด้วยรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- กทท. มีการดำเนินการและรายงานตามประกาศ กทท.เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์
6.7 จรรยาบรรณว่าด้วยการจัดการและรักษาจรรยาบรรณ
- กำหนดให้มี คณะกรรมการจรรยาบรรณ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
ดูแลปรับปรุงคู่มือจริยธรรมของคณะกรรมการ กทท.
ผู้บริหาร และพนักงานให้มีความเหมาะสมและทันสมัย- พิจารณาเกี่ยวกับการกระทำ ซึ่งอาจฝ่าฝืนจรรยาบรรณ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการ กทท. ทราบเป็นประจำทุกปี
- ดูแลการฝึกอบรมพนักงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจจริยธรรม และจรรยาบรรณ รวมทั้งเสริมสร้างให้พนักงานทุกคนยึดถือและปฏิบัติ
- 7. คณะกรรมการ กทท. ต้องเป็นผู้นำในเรื่องจริยธรรมเป็นตัวอย่างใน การปฏิบัติงานตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กทท. และสอดส่องดูแลในเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน